โฟมกับสิ่งแวดล้อม

บ้านโฟม,โฟมฉนวนกันความร้อน,โฟมกันกระแทก

ความจริง และความเชื่อ มักจะต่างกันเสมอ ในกรณีของ “เม็ดโฟม, โฟมก้อน, โฟมแผ่น หรือโฟมก่อสร้าง” ก็เช่นกัน ทุกวันนี้มีคนอีกมากมายที่เชื่อว่าโฟมมี CFC’s (Chlorofluorocarbons) และไม่สามารถรีไซเคิลได้ ก่อให้เกิดมลภาวะแก่สิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนอย่างยิ่ง นับตั้งแต่มีการคิดค้นโฟมโพลีสไตรีน (EPS ; Expandable Polystyrene หรือ Styrofoam) ขึ้นครั้งแรกในโลกเมื่อ 60 ปีก่อนราว ค.ศ. 1949 โดยบริษัท BASF ในประเทศเยอรมัน กระบวนการผลิต เม็ดโฟม โฟมก้อน หรือโฟมแผ่นประเภทพอลีสไตรีนนั้นไม่เคยใช้ CFC’s เลย เนื่องจาก CFC’s คือสารประกอบ คลอไรน์, ฟลูออไรน์ และคาร์บอน ซึ่งมีองค์ประกอบแตกต่างจากโพลีสไตรีนที่เป็นสารประกอบ Hydrocarbon และเนื่องจาก CFC’s มีจุดระเหยต่ำ จึงยากต่อการกักเก็บในเม็ดพลาสติก ซึ่งการจะทำให้เนื้อพลาสติกขยายตัวได้ จำเป็นต้องใช้สาร Blowing Agent และสารที่นำมาเป็น Blowing Agent ได้แก่ ก๊าซ Pentane ซึ่งเป็นสารประกอบ Hydrocarbon เช่นเดียวกับ Polystyrene และเป็นก๊าซในตระกูลเดียวกับก๊าซหุงต้มที่ใช้อยู่ในทุกครัวเรือน โดยมีลักษณะการทำงานคือ เมื่อเม็ดวัตถุดิบ EPS ได้รับความร้อนจากไอน้ำ ก๊าซ Pentane ที่อยู่ในเม็ดจะทำให้เม็ดพลาสติกขยายตัว จากเม็ดพลาสติกที่แข็งๆ เล็กๆ ฟูขึ้นมาเป็นเม็ดโฟม ซึ่งเมื่อก๊าซ Pentane ระเหยออกจากเม็ดโฟม ในขั้นตอนการผลิตก็จะสลายตัวไปเองในอากาศตามธรรมชาติ ดังนั้นการผลิตโฟมโพลีสไตรีนแบบเซลล์ปิดจึงไม่เคยใช้ CFC’s เลย ส่วนโฟมโพลีเอทีลีน และโพลีโพรพิลีนนั้น ใช้อากาศเป็น Blowing Agent

โฟมก่อสร้าง,โฟมฉนวนกันความร้อน,โฟมกันกระแทก

จากการที่ โฟม ทำมาจากพลาสติก ซึ่งต้องใช้เวลานานในการย่อยสลาย แต่จะใช้เวลาถึงร้อยๆ ปีหรือไม่นั้น ยังไม่มีใครพิสูจน์ได้จริง เพราะโฟมเพิ่งถือกำเนิดได้ประมาณ 60 ปีที่แล้ว แต่เรื่องที่สามารถทำได้จริงนั่นคือ โฟมสามารถรีไซเคิล(Recycle) ได้เหมือนพลาสติกทั่วไป โดยการบด และหลอมกลับมาเป็นเม็ดพลาสติกที่ไม่มี Blowing Agent เพื่อนำกลับใช้(Reuse)ผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกทั่วไป แต่ในทางปฏิบัติ เนื่องจากโฟมมีขนาดใหญ่น้ำหนักเบา ต้นทุนในการจัดเก็บรวมรวมโฟม จากแหล่งสาธารณะทั่วไปจึงสูงกว่าพลาสติกประเภทอื่น เราจึงไม่ค่อยเห็นกระบวนการจัดเก็บเศษโฟม เหมือนที่มีเก็บเศษพลาสติกไปขาย ดังนั้นการรีไซเคิลโฟมจึงทำกันอย่างแพร่หลายในภาคอุตสาหกรรมมากกว่าในระดับครัวเรือน แต่อย่างไรก็ตามโฟมก็เหมือนกับวัสดุ และทรัพยากรทุกชนิดที่มีทั้งคุณและโทษ ไม่มีสิ่งใดที่เมื่อเรานำมาใช้แล้วจะไม่เกิดผลกระทบใด ๆ ต่อสภาวะแวดล้อมทั้งทางตรงหรือทางอ้อม โดยที่รู้แน่ชัดหรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ดังนั้นประเด็นสำคัญที่สุดคือ การที่เรารู้จักการใช้โฟมและทรัพยากรอื่น ๆ เท่าที่จำเป็นเท่านั้น โดยชี้แจงทำความเข้าใจถึงคุณสมบัติและการนำไปใช้ให้เหมาะสมกับประเภทงาน ซึ่งเป็นสาเหตุต้นทางของการลด(Reduce) จำนวนปริมาณขยะในปัจจุบัน