พลาสติกชนิดใดที่นำกลับมารีไซเคิลได้?
พลาสติกแบ่งได้สองประเภท คือ เทอร์โมพลาสติก (Thermoplastic) และเทอร์โมเซตติ้ง (Thermosetting) ซึ่งเกณฑ์การจัดประเภทพลาสติกแบ่งตามโครงสร้างการเชื่อมต่อโมเลกุล เทอร์โมพลาสติกมีโครงสร้างการเชื่อมต่อโมเลกุลเป็นโซ่ตรงยาว เมื่อได้รับความร้อนและความดันยังสามารถหลอมนำกลับมารีไซเคิลได้แต่สมบัติเชิงกลจะลดลง ต่างจากเทอร์โมเซตติ้งพลาสติกที่มีโครงสร้างการเชื่อมต่อโมเลกุลเป็นร่างตาข่าย ส่งผลให้ทนต่อความร้อนและความดันสูง แต่หากได้รับความร้อนและความดันสูงจนถึงจุดเปลี่ยนโครงสร้างทางเคมีจะไม่สามารถหลอมนำกลับมาขึ้นรูปเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ได้
พลาสติกรีไซเคิลมีกี่ประเภท?
พลาสติกรีไซเคิลมีถึง 7 ประเภท เราสามารถสังเกตได้จากสัญลักษณ์รีไซเคิลและตัวเลขที่อยู่ตรงกลางว่าเป็นพลาสติกประเภทใด การระบุสัญลักษณ์พร้อมตัวเลขบนชิ้นงานพลาสติกมีประโยชน์อย่างมาก เพราะทำให้ง่ายต่อการคัดแยกก่อนนำเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล
โฟม EPS (Expandable Polystyrene) จัดเป็นเทอร์โมพลาสติก สามารถนำกลับมารีไซเคิลได้ร้อยเกินเปอร์เซ็นต์ สังเกตได้จากการระบุสัญลักษณ์รีไซเคิลที่มีเลข 6 อยู่ตรงกลาง ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการรีไซเคิลโฟม EPS สามารถจำหน่ายได้ตั้งแต่เม็ดพลาสติกรีไซเคิลจนผลิตภัณฑ์ที่ขึ้นรูป อาทิ ตลับครีม ไม้บรรทัด บรรจุภัณฑ์ ไม้แขวนเสื้อ กรอบรูป เป็นต้น
นอกจากการรีไซเคิลพลาสติกยังมีอีกหนึ่งกระแสรักษ์โลกที่ยิ่งช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับพลาสติกที่ไม่ใช้แล้ว จากการนำนวัตกรรมการผลิต และการออกแบบมาจับกับวัสดุรีไซเคิล เปลี่ยนโฉมเกิดเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่สามารถนำไปใช้ได้อย่างยั่งยืนแถมมีดีไซน์ที่สวยงาม (Upcycling) เกิดเป็นสินค้าสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างไม่รู้จบ (Circular Economy) โดยไม่ต้องไปรบกวนทรัพยากรทางธรรมชาติ
ข้อมูลอ้างอิง
https://www.goodhousekeeping.com/home/g804/recycling-symbols-plastics-460321/
https://www.ellenmacarthurfoundation.org/circular-economy/concept